top of page

Wellcom To Rice.....OnLine

-   ABOUT US  -

rice2.jpg
Malee.jpg
daohua.jpg
1-17.jpg
Image.aspx.jpg

Rice is a herbaceous tropical plants. Like clay in the flooding. There are some varieties that can grow in the uplands called rye stems are hollow and there is a growing tillering leaves long slender leaves turn green shapes, flat, long, slender spikes of flowers, smaller leaves as big bouquet. Included at the end is called grain or seed when the light is green. When ripe, it is yellow gold. Planting the seed And planted all over the country. The size and characteristics, specifications will vary according to the variety of rice.

- See more at: http://kasetinfo.arda.or.th/arda/rice/?page_id=5#sthash.UreiwGw4.dpuf

 

        ข้าว มีหลากหลายประเภท หลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งได้รับการวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวให้ได้ผลผลิตที่ดี มีความทนทานต่อโรคและแมลง ข้าวแต่ละชนิดมีความแตกต่างไปตามสายพันธุ์ ซึ่งให้คุณค่าทางอาหารใกล้เคียงกัน แตกต่างกันในรสชาติ จึงขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล 

     พันธุ์ข้าว ที่มีการปลูกในประเทศ ไทยเป็นพันธุ์ข้าวเมล็ดยาวคือ ข้าวอินดิกา แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ซึ่งแต่ละพันธุ์ที่มีการปลูกจะมีความแตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของพันธุ์ 

  • ข้าวเหนียว จะมีลักษณะเนื้อของเมล็ดข้าวสารมีสีขาวขุ่น เมล็ดหักเปราะง่าย เมื่อผ่านการนึ่งให้ สุกเมล็ดจะใส มีความเหนียวจับตัวแน่น ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน นิยมรับประทานกับอาหารอื่นๆเป็นหลัก  ข้าวเหนียวสามารถนำไปทำเป็นอาหารว่างและขนมหวานหลายชนิด เช่น ข้าวเหนียวมูน บ๊ะจ่าง หรือนำไปโม่เป็นแป้งทำขนม เช่น บัวลอย ขนมเทียน เป็นต้น

  • ข้าวเจ้า ลักษณะเนื้อของเมล็ดข้าวสารจะใสกว่าข้าวเหนียว เมื่อผ่านการหุงหรือนึ่งจนสุก จะมีสีขาวขุ่นและมีความร่วนไม่เกาะติดกัน ข้าวมีความแข็งและนุ่มแตกต่างกันตามคุณลักษณะของข้าว โดยกลุ่มข้าวเจ้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวขาว และ ข้าวหอมมะลิ ซึ่งนิยมบริโภคในภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้  ข้าวขาวเมื่อหุงสุกแล้วข้าวจะมีความแข็ง ร่วนเป็นเมล็ดและหุงขึ้นหม้อ ส่วนข้าวหอมมะลิ เมื่อหุงสุกแล้ว ข้าวจะมีความเหนียว นุ่ม และมีกลิ่นหอมใบเตยหรือกลิ่นดอกมะลิ 

 

ข้าวหอมมะลิไทย...ข้าวที่ดีที่สุดในโลก 
 

ข้าวหอมมะลิ เป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญและเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของคนไทยเป็นข้าวที่ได้รับความนิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มีกลิ่นหอม บ้างก็ว่ามีกลิ่นหอมใบเตย บ้างก็ว่ากิลิ่นดอกมะลิ มีเนื้อสัมผัสนุ่มนวลและเหนียวกำลังดี แม้เมื่อเย็นแล้วก็ยังนุ่มอร่อย ไม่เย็นชืดแข็งกระด้างเหมือนข้าวขนิดอื่น


พันธุ์ข้าวหอมมะลิ ที่มีการปลูกแต่เดิมนั้นเป็นข้าวพื้นเมืองมีพื้นเพมาจาก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งมีปลูกไม่มากนัก เนื่องจากข้าวชนิดนี้เติบโตได้ดีในที่ดอนซึ่งมีเพียงไม่กี่แห่ง อีกทั้งปริมาณผลผลิตน้อย จึงทำให้ข้าวหอมมะลิมีราคาดี ชาวนาจึงปลูกไว้ขายและเก็บไว้ต้อนรับแขกมากกว่ารับประทานเอง 

ด้วยเหตุที่เป็นข้าวราคาดีมีรสชาติอร่อย ในปี พ.ศ. 2497 กรมวิชาการเกษตร  จ.ฉะเชิงเทรา  จึงได้รวบรวมพันธุ์ข้าวหอมในเขตอำเภอบางคล้า จำนวน 199 รวง นำไปปลูกคัดพันธุ์บริสุทธิ์และเปรียบเทียบพันธุ์ ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง (ขณะนี้เป็นสถานีข้าวลพบุรี) โดย ดร.ครุย บุณยสิงห์ (ผู้อำนวยการกองบำรุงพันธุ์ข้าวในขณะนั้น) ดำเนินการคัดพันธุ์โดยนักวิชาการเกษตรชื่อนายมังกร จูมทอง ภายใต้การดูและของนายโอภาส พลศิลป์ หัวหน้าสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง โดยพบว่าข้าวขาวมะลิแถวที่ 105 ให้ผลผลิตดีที่สุดทั้งในด้านความหอมและคุณภาพ จึงได้แจกจ่ายพันธุ์ข้าวให้นำไปลูกต่อ โดยตั้งชื่อว่า “ข้าวขาวดอกมะลิ 105” จนกระทั่งวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502  คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ข้าว ได้อนุมัติให้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นพันธุ์ส่งเสริมแก่เกษตรกร  ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จนได้ข้าวพันธุ์ กข 15 ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ประกาศให้ ข้าวทั้ง 2 พันธุ์เป็นข้าวหอมมะลิไทย

 

 

© 2023 by GOOD TO EAT. Proudly created with Wix.com

bottom of page